ตัวอย่างเช่นในระบบตรวจสอบการให้สินเชื่อ เมื่อทำการยื่นขอกู้แล้วนั้น ข้อมูลของการยื่นกู้มีหลายอย่าง เช่นข้อมูลผู้กู้ ได้แก่ชื่อ ที่อยู่ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ เงินเดือน วงเงินขอกู้ หรือแม้แต่ข้อมูลของผู้ค้ำประกันได้แก่ชื่อ ที่อยู่ เหล่านี้เป็นต้น พนักงานป้อนข้อมูลได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ซึ่งมีชั้นความลับเป็นปกปิด (Restricted) เหมือนกันทุกคนแต่ว่าแต่ละคนจะเห็นข้อมูลเฉพาะรายที่ตนเองได้รับมอบหมายให้ป้อนเท่านั้น ไม่มีสิทธิที่จะอ่านข้อมูลของการยื่นกู้ของรายอื่นที่ไม่ได้ป้อนเข้าไป
จากระบบตรวจสอบการให้สินเชื่อข้างบน จะมีงานอย่างหนึ่งก็คือการตรวจสอบข้อมูลภาคสนาม พนักงานที่ทำหน้าที่นี้จะมีหน้าที่ตรวจสอบยืนยันข้อมูลบุคคลของผู้ขอกู้ว่าตรงตามที่ยื่นกู้มาหรือไม่เช่นที่อยู่ที่ให้มาได้อยู่จริงหรือไม่ สถานที่ทำงานตามที่แจ้งหรือไม่ สินทรัพย์ค้ำประกันสภาพเป็นเช่นไร พนักงานจะได้รับข้อมูลจากการยื่นกู้ของผู้ยื่นกู้เฉพาะที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบ และได้เพียงข้อมูลบางส่วนเพื่อทำงานเท่านั้น เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลสินทรัพย์ค้ำประกันเป็นต้น แต่จะไม่ได้ข้อมูลวงเงินขอกู้ เงินเดือน หรือข้อมูลผู้ค้ำประกัน เป็นต้น
Need to Know มักจะถูกใช้สับสนกับ Least Privilege เนื่องจากเป็นเรื่องการควบคุมสิทธิ์เช่นเดียวกัน โดยข้อแตกต่างจะสรุปได้ดังนี้
ข้อเปรียบเทียบ | Need to Know | Least Privilege |
---|---|---|
การเข้าถึง | อ่านเท่านั้น | อ่าน เขียน สั่งให้ทำงาน เป็นต้น |
Object | ข้อมูลเท่านั้น | ข้อมูล แฟ้ม บริการ กระบวนการ เป็นต้น |
Security Foundation | Confidentiality | Confidentiality, Integrity |
การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล | ระดับ Record & Field | ระดับSchema (อาจถึงระดับ Field) |
สิทธิ์ | ตามที่ได้รับมอบหมาย(Assignment) | ตามบทบาท(Role) |
จำไว้เสมอว่า Subject ควรได้รับข้อมูลเฉพาะที่จำเป็นต้องรู้เพื่อทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น