หลายท่านอาจเคยชินจนคิดว่าระบบรักษาความปลอดภัยข้างต้นน่าจะป้องกันผู้อื่นเข้ามาใช้บัญชีของเราได้ แต่ความเป็นจริงก็คือถึงแม้ระมัดระวังอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม เราก็อาจถูกขโมยชื่อบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านไปได้ โดยไม่รู้ตัว หลายท่านอาจบอกว่า “ไม่มีทาง ฉันรักษารหัสผ่านเป็นความลับอย่างดี” แต่ลืมฉุกคิดไปว่าในบางกรณีผู้ไม่ประสงค์ดีเพียงแค่รู้ชื่อบัญชีผู้ใช้โดยไม่ต้องรู้รหัสผ่านก็สามารถทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แทนเราได้ มากไปกว่านั้นธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำกับสถาบันการเงินบางแห่ง เพียงแค่รู้เลขที่บัญชีและข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง ก็สามารถทำธุรกรรมได้ โดยไม่จำเป็นต้องรู้ชื่อบัญชีผู้ใช้งานเลย
บางท่านอาจบอกว่า “ถ้าอย่างนั้นขอไม่ใช้งาน E-Commerce ก็แล้วกัน ดูท่าจะปลอดภัยกว่า” คำถามที่ตามมาคือ แน่ใจหรือว่าแม้ไม่ใช้ E-Commerce จะทำให้บัญชีของท่านปลอดภัย
ธุรกรรมของเรามีโอกาสเสี่ยงขนาดนั้นเชียวหรือ
เรามีสิทธิ์เลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้ อย่างไรได้บ้าง
และเราจะป้องกันให้เราปลอดภัยจากการทำธุรกรรมเองหรือถูกสวมรอยได้อย่างไร
Identification
identity (1) - N – ความเหมือนกัน (2) - N – บุคลิกลักษณะก่อนที่จะดูว่าเราจะป้องกันตัวเราได้อย่างไร ลองมาดูเรื่องพื้นฐานสักนิดเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ในการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการใดๆ ก็แล้วแต่ สิ่งที่ทางสถาบันนั้นๆ สนใจก็คือ ท่านเป็นผู้มีสิทธิ์ในการทำธุรกรรมหรือไม่
identification - N – การแสดงตัว (NECTEC's Lexitron Dictionary)
โดยทั่วไปเมื่อท่านไปสถาบันการเงินเพื่อเปิดบัญชีทำธุรกรรม สิ่งที่สถาบันนั้นๆ ต้องการจากท่านก็คือ สำเนาบัตรประชาชน (ซึ่งจะได้ชื่อ เลขประจำตัวประชาชน นามสกุล ที่อยู่บนบัตร และ วันเดือนปีเกิด ไปโดยปริยาย) ที่อยู่ปัจจุบัน ที่อยู่ในการส่งเอกสาร เช่น ใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิต หรือข้อมูลอื่นๆที่เป็นข้อมูลเฉพาะสำหรับธุรกรรมนั้นๆ และที่สำคัญก็คือลายมือชื่อที่ใช้ติดต่อกับสถาบันการเงิน หลังจากนั้นทางสถาบันการเงินจะออกหลักฐานเพื่อใช้ในการทำธุรกรรม เช่น เลขที่บัญชี สมุดคู่ฝากหรือเอกสารอื่น และทุกครั้งที่ท่านต้องการทำธุรกรรมในการเอาเงินออกจากบัญชี ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม จะเป็นถอนหรือโอน สถาบันจะให้ท่านระบุตัวตนด้วยการใช้ เลขที่บัญชี สมุดคู่ฝากหรือบัตรแสดงสิทธิ์ (เช่นบัตรเครดิต) หรือเอกสารอื่นเช่นเช็ค และลายมือชื่อของท่านเพื่อดำเนินธุรกรรม
เอกสารที่ออกให้โดยสถาบันการเงินนี้เราก็ถือว่าเป็นตัวตนของเราเพื่อทำธุรกรรม หรือเรียกได้อีกนัยหนึ่งก็คือ Derived Identification เมื่อใช้ประกอบกับลายมือชื่อ ก็จะทำธุรกรรมการเอาเงินออกจากบัญชีได
Derived Identification |
Authentication กับ Identification
เมื่ออยู่บนอินเตอร์เน็ต Identification ก็ต้องเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งที่ใกล้เคียงกับ Identification ที่ใช้ในวิถีคอมพิวเตอร์มากที่สุดก็คือการทำ Authenticationauthentication n. รับรอง (พจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย อ.สอ เสถบุตร)Authentication มีความหมายถึงระบบการรับรองการใช้สิทธิ์ ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์ทำโดยการสร้างบัญชีผู้ใช้งาน และรหัสผ่านในการรับรองการใช้สิทธิ์มีมานานมาก โดยทั่วไปบัญชีผู้ใช้งานมักจะมาจากการขอใช้โดยบุคคลที่ระบุตัวตนได้ แต่ก็มีบางระบบเหมือนกันที่บัญชีผู้ใช้งานสามารถหามาใช้ได้โดยไม่ต้องระบุตัวตนที่แท้จริง เช่น Emailที่ให้บริการฟรีหลายแห่งในปัจจุบัน ถ้าเปรียบเทียบแล้วบัญชีผู้ใช้งานก็คือเอกสารหลักฐานในการทำธุรกรรม ส่วนรหัสผ่านก็เทียบได้กับการลงลายมือชื่อ ความเป็นจริงแล้วแค่นี้เพียงพอหรือ
สถาบันการเงินหลายแห่งต้องทำการขอใช้บัญชีผู้ใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตโดยยื่นคำร้องผ่านทางสาขาของสถาบันการเงินซึ่งค่อนข้างจะปลอดภัยแต่ขาดความสะดวก แต่ก็มีอีกหลายแห่งที่สามารถเปิดขอใช้ผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยสะดวก เช่นอาศัยเลขที่บัญชีกับเลขที่สมุดคู่ฝาก ซึ่งก็คือ Derived Identification ที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งในลักษณะนี้กลับกันคือสะดวกแต่ไม่ปลอดภัยนักเพราะถ้าสมุดคู่ฝากหายก่อนที่จะได้เปิดขอใช้การจัดการธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต บุคคลที่ได้สมุดคู่ฝากไปก็จะทำธุรกรรมได้โดยที่เราไม่รู้
ข้อควรระวัง: เปิดบัญชีทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน กรุณาตรวจสอบเสียก่อนว่าการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตต้องยื่นคำร้อง หรือใช้เอกสารที่สถาบันการเงินออกให้เปิดใช้ได้โดยตรง ถ้าเป็นกรณีหลัง กรุณาใช้สิทธิ์ของท่านก่อนที่คนอื่นจะมาใช้สิทธิ์แทนนอกจากสถาบันการเงินแล้ว ผู้ให้บริการอื่นๆ เช่น ร้านค้าบนอินเตอร์เน็ต หรือMarket Placeที่มีทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ก็ใช้วิธีการพิสูจน์ตัวตนด้วย Authentication เป็นมาตรฐานเช่นกัน
บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านจึงเป็นที่นิยมเพื่อใช้ในการรับรองการใช้สิทธิ์ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ให้บริการ แต่วิธีการการนำมาใช้อาจมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง
Authentication ความเหมือนที่แตกต่าง
แม้ว่าผู้ให้บริการจะใช้การ Authentication เพื่อระบุตัวตนของผู้ใช้เหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในการให้บริการ ความแตกต่างที่ว่าอยู่ที่วิธีกำหนดบัญชีผู้ใช้งานและความยากง่ายต่อการคาดเดาของรหัสผ่านของแต่ละการให้บริการก็มีข้อกำหนดที่ไม่เหมือนกัน เราลองมาดูตัวอย่างการให้บริการบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าการตั้งบัญชีผู้ใช้งาน
วิธีการตั้งบัญชีผู้ใช้งานมีได้หลายแบบซึ่งขอยกตัวอย่างบางวิธีที่เคยพบและข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบดังนี้1 ใช้เลขที่บัญชีเป็นชื่อบัญชีผู้ใช้งาน
วิธีนี้ดูเหมือนว่าสะดวกต่อผู้ให้บริการ และสะดวกเหลือเกินสำหรับผู้ที่ต้องการเจาะบัญชีผู้ใช้งานของเรา เพราะเพียงแค่ได้เลขที่บัญชีมาก็ง่ายต่อการเจาะระบบ แต่เบาใจได้อย่างหนึ่งถ้าผู้ให้บริการเป็นธนาคาร มักจะไม่ใช้วิธีนี้เพราะส่วนใหญ่ใช้บัญชีผู้ใช้เดียวต่อหลายเลขที่บัญชีเพื่อความสะดวกในการโอนเงินระหว่างบัญชีของลูกค้า อย่างไรก็ตามถ้าเจอวิธีการตั้งบัญชีผู้ใช้แบบนี้จากสถาบันการเงินอื่นๆ โปรดจำไว้ว่า รักษาเลขที่บัญชีให้เป็นความลับมากที่สุด2 ผู้ให้บริการกำหนดให้
ผู้ให้บริการบางแห่งอาจจะกำหนดบัญชีผู้ใช้งานให้เลยโดยวิธีกำหนดอาจจะมาจากชื่อและนามสกุลภาษาอังกฤษซึ่งมีวิธีการให้ชื่อบัญชีที่แน่นอน ซึ่งถ้าผู้ที่ต้องการลักลอบใช้สามารถคาดเดาได้ก็จะลักลอบใช้งานบัญชีนั้นๆ ง่ายขึ้น ผู้ให้บริการบางรายอาจจะกำหนดบัญชีโดยใช้ชื่อที่ไม่มีความหมายอะไรเลย ในลักษณะนี้การเดาชื่อบัญชีจะเป็นไปได้ยากกว่า การเก็บบัญชีผู้ใช้งานเป็นความลับก็จะทำให้การลักลอบใช้งานยากขึ้น3 ใช้ Email เป็นชื่อบัญชีผู้ใช้งาน
การใช้ Email เป็นชื่อบัญชีไม่ค่อยพบในการทำธุรกรรมทางการเงินนัก แต่ว่าถ้ามีการนำมาใช้ การใช้ Email ปกติที่ใช้มักจะมีความเสี่ยงจากการลักลอบนำไปใช้สูง ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้เลือก Email ที่ปกติไม่ได้ใช้ เพื่อนำมาใช้สำหรับทำธุรกรรมโดยเฉพาะ4 ตั้งชื่อบัญชีตามใจชอบ
มักจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนใหญ่ การตั้งชื่อจะมีการกำหนดความยาวของชื่อ และไม่มีการใช้งานโดยผู้ใช้รายอื่น ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะตั้งจากชื่อและนามสกุลตัวเอง ซึ่งการตั้งชื่อแบบนี้ก็ง่ายต่อการคาดเดา และลักลอบนำไปใช้เช่นกัน ดังนั้นการตั้งชื่อที่ไม่ได้มาจากชื่อนามสกุลตัวเองดูจะปลอดภัยมากกว่านโยบายเกี่ยวกับรหัสผ่าน (Password Policies)
หลักการโดยทั่วไปของการตั้งรหัสผ่านก็คือง่ายต่อการจำและยากต่อการเดาโดยผู้ที่จะลักลอบนำไปใช้ อย่างไรก็ตามนโยบายเกี่ยวกับรหัสผ่านของผู้ให้บริการก็มีผลต่อความแข็งแรงของรหัสผ่านที่เราตั้งเช่นกัน โดยทั่วไปในการทำธุรกรรมมีนโยบายในการตั้งรหัสผ่านดังนี้1 ความยาวของรหัสผ่าน
ผู้ให้บริการมักจะกำหนดความยาวขั้นต่ำในการตั้งรหัสผ่านและไม่เกินกี่ตัวอักษร ความยาวของรหัสผ่านมากทำให้ยากต่อการคาดเดา และแน่นอนยากต่อการจำและการพิมพ์ผิด ผู้ให้บริการบางรายที่ยอมให้ใช้รหัสผ่านได้ไม่เกิน 10 ตัวอักษรถือว่าเป็นความเสี่ยง เช่นการใช้ PIN ซึ่งอยู่ระหว่าง 4-6 ตัว2 ชนิดอักขระที่ใช้เป็นรหัสผ่าน
การใช้อักขระพิเศษนอกเหนือจากตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข จะเพิ่มความแข็งแรงของรหัสผ่านเพราะว่าทำให้การเดายากมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอักขระพิเศษเพียงแค่บางตัวหรือทั้งหมด แต่ผู้ให้บริการไม่ได้ยอมให้ใส่อักขระพิเศษได้ทุกราย ผู้ใช้บริการควรคำนึงถึงประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แค่ PIN ซึ่งเป็นเพียงแค่ตัวเลข3 จำนวนครั้งที่อนุญาตให้พิมพ์รหัสผ่านผิด
เพื่อป้องกันการเจาะระบบโดยการเดารหัสผ่าน ผู้ให้บริการมักจะจำกัดจำนวนครั้งในการป้อนรหัสผ่านผิด (เช่น 3 ครั้ง) เมื่อครบจำนวนระบบก็จะทำการปิดการใช้งานสำหรับบัญชีผู้ใช้นั้น โดยการจะใช้งานได้ใหม่นั้น อาจจะใช้ได้เมื่อผ่านช่วงเวลาหนึ่ง แต่โดยทั่วไปการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินมักจะใช้วิธีให้ขอเปิดการใช้งานใหม่ผ่านทางสาขาหรือ Call Center4 อายุรหัสผ่าน
เท่าที่เห็นในการทำธุรกรรมกับผู้ให้บริการ E-Commerce ในเมืองไทย ไม่ค่อยมีการจำกัดอายุรหัสผ่านเพื่อบังคับให้เปลี่ยนรหัส อาจเป็นเพราะการทำธุรกรรมมีไม่บ่อยเลยไม่จำกัดอายุการใช้งานรหัสผ่าน อย่างไรก็ตามเราก็ควรจะเปลี่ยนรหัสผ่านเองบ่อยๆ อาจเป็นทุก 3-6 เดือน5 วิธีป้อนรหัสผ่าน
ผู้ให้บริการบางรายอาจเพิ่มวิธีการรักษาความปลอดภัยโดยการให้ป้อนรหัสผ่านด้วย On Screen Keyboard แทน Keyboard ปกติ ซึ่งการทำแบบนี้ก็จะใช้งานจากเครื่องสาธารณะหรือเครื่องที่อาจติด Malware ที่ดักจับรหัสผ่านได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้นตัวอย่าง On-Screen Keyboard จาก CitiBank |
การส่งชื่อบัญชีและรหัสผ่านผ่านเครือข่าย
การส่งชื่อบัญชีและรหัสผ่านผ่านเครือข่าย ต้องมั่นใจว่ามีการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งมาตรฐานการส่งข้อมูลผ่าน Web Browser คือ Transport Layer Securityi (TLS หรือเดิมเรียก SSL) ปัจจุบัน Web Browser ส่วนใหญ่ก็สนับสนุนการใช้ TLS/SSL อยู่แล้วจุดสังเกตว่า Internet Explorer 8 ใช้ TLS/SSL |
จุดสังเกตว่า Firefox 3 ใช้ TLS/SSL |
5ตัวอย่างไอคอนที่ใช้ตรวจสอบ Certificate จากธนาคารกสิกรไทย |
การยกเลิกและตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ (Password Reset)
ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้การลักลอบใช้บัญชีผู้ใช้งานเป็นไปอย่างง่ายดายคือ การยกเลิกและตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ในกรณีที่ลืมรหัสผ่าน ความซับช้อนและยุ่งยากในการยกเลิกและตั้งค่ารหัสผ่านใหม่จะช่วยให้การลักลอบใช้งานเป็นไปได้ยากขึ้น แต่ก็พบว่าผู้ใช้งานมักจะบ่นต่อนโยบายที่เคร่งครัดและเป็นตัวผลักดันให้ผู้ให้บริการเปลี่ยนวิธีให้ยุ่งยากน้อยลงเราลองมาดูว่าวิธีไหนที่ปลอดภัยต่อการลักลอบใช้งานมากน้อยกว่ากัน- ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนรหัสผ่าน วิธีนี้จะปลอดภัยที่สุดเพราะท่านต้องติดต่อกับผู้ให้บริการด้วยตัวเองโดยใช้การแสดงตัวของท่าน แต่แน่นอน ไม่สะดวกและเสียเวลา
- ขอเปลี่ยนรหัสผ่านทางอินเตอร์เน็ตแต่อนุมัติผ่าน Call Center วิธีนี้ปลอดภัยในระดับรองลงมา สะดวกเพราะไม่ต้องเดินทาง แต่ก็สามารถถูกลักลอบใช้บัญชีได้โดยการปลอมแปลงตัวตนจากการได้ข้อมูลส่วนบุคคล (Identity) ของเรา แล้วให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อ Call Center
- เปลี่ยนรหัสผ่านด้วยข้อมูลส่วนตัว วิธีนี้ปลอดภัยน้อยกว่าสองวิธีก่อนหน้า และเช่นเดียวกันกับการอนุมัติผ่าน Call Center ถ้ามีผู้ที่ทราบข้อมูลที่จำเป็นในการยกเลิกรหัสผ่าน ซึ่งมักจะเป็นคำถามพิเศษที่เราตั้ง เราก็โดนขโมยบัญชีไปใช้งานเช่นกัน
- ยืนยันการยกเลิกและเปลี่ยนรหัสผ่านทาง Email วิธีนี้ปลอดภัยน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า Mail Server ที่เราใช้ไม่ปลอดภัยเพียงพอ เมื่อเราโดนยึด Email Address ไป การยกเลิกรหัสผ่านก็ทำได้โดยง่าย
Two-Factor Authentication รหัสผ่านสองชั้น
An authentication factor is a piece of information and process used to authenticate or verify the identity of a person or other entity requesting access under security constraints. Two-factor authentication (T-FA) or (2FA) is a system wherein two different factors are used in conjunction to authenticate. Using two factors as opposed to one factor generally delivers a higher level of authentication assurance. Two-factor authentication typically is a signing-on process where a person proves his or her identity with two of the three methods: "something you know" (e.g., password or PIN), "something you have" (e.g.,smartcard or token), or "something you are" (e.g., fingerprint or iris scan). From Wikipedia, the free encyclopediaเมื่อข้อมูลทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญ การเพิ่มระดับของการรักษาความปลอดภัยในการใช้บริการ โดยการเพิ่มการเข้าใช้ระบบนอกเหนือจากสิ่งที่เราต้องจำ (ชื่อบัญชีและรหัสผ่าน) ด้วยสิ่งที่เรามี (เช่นโทรศัพท์มือถือ อีเมล หรือ Token) โดยการใช้รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (Single-Use หรือ OTP: One-Time Password) รหัสผ่านประเภทนี้ จะเป็นรหัสผ่านที่เปลี่ยนแปลงไปทุกครั้งที่มีการใช้งาน โดยเมื่อรหัสผ่านใดๆก็ตามได้ถูกใช้งานไปแล้ว จะไม่สามารถนำมาใช้งานได้อีกต่อไป ซึ่งจะสามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกเจาะขโมยข้อมูลรหัสผ่านที่ อาจกระทำได้โดยง่ายหากใช้รหัสผ่านประจำตัวแบบปกติเพียงอย่างเดียว OTP ที่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะใช้อยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ
1 SMS OTP
เป็นการส่ง OTP ผ่านSMS ไปยังโทรศัพท์มือถือที่หมายเลขที่ให้ไว้กับทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการมักจะส่ง OTP มาทาง SMS เมื่อมีการเข้าใช้งานระบบ ทำรายการทางการเงิน ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว เป็นต้น มักจะส่ง OTP เป็นตัวเลข 6 หลัก พร้อมกับรหัสอ้างอิงที่ตรงกับที่ปรากฏบนหน้าที่ต้องการให้ใส่ OTP ในการทำธุรกรรมนั้นๆ OTP มักจะถูกกำหนดเวลาในการใช้งานเป็นนาที เมื่อครบกำหนดเวลาก็จะถูกยกเลิกไปตัวอย่างหน้าใส่รหัสผ่าน OTP ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา |
2 Email OTP
หลักการก็จะเป็นเช่นเดียวกับ SMS OTP เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางการส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์ เป็น Email Address ที่ให้ไว้กับผู้ให้บริการ3 Token OTP
ตัวอย่าง Token แบบต่างๆ |
ตัวอย่างหน้า Token OTP ของธนาคาร HSBC |
บริการที่ไม่ใช้ Authentication
Authentication ไม่ได้เป็นวิธีการเดียวในการแสดงตัวตน ในการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลร่วมกับข้อมูลจาก Derived Identification เช่นการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ก็เป็นอีกวิธีในการแสดงตัวตนโดยทั่วไปการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ในการทำการอนุมัติการทำรายการนั้น ร้านค้าจะทำการ Redirect ไปยัง Third Party Processor ซึ่งมีหลายประเภทเช่น Secure Payment Gateway Providerเพื่อทำรายการซื้อขาย Third Party Processor จะมีสัญญากับ Credit Card Processor เช่น VISA/Mastercard/AMEXหรือกับธนาคาร โดยมักจะทำการพิสูจน์การถือครองบัตรด้วยข้อมูลคือ
- หมายเลขบัตร
- ชื่อผู้ถือบัตร
- เดือนปีที่บัตรหมดอายุ
- Card Security Code (CSC) หรือบางครั้งเรียกว่า Card Verification Value (CVV or CV2), Card Verification Value Code (CVVC), Card Verification Code (CVC), Verification Code (V-Code or V Code), หรือ Card Code Verification (CCV) ซึ่งจะเป็นตัวเลข 3-4 หลัก พิมพ์อยู่ด้านหลังหรือด้านหน้าแล้วแต่ชนิดของบัตร (ไม่ใช่ตัวนูน)
- เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการชำระเงินผ่าน Third Party Processor ตรวจสอบดูว่า URL หน้านั้นเป็นของ Third Party Processor ไม่ใช่ของร้านค้า ใช้ HTTPS เสมอและมี Certificate จาก Certificate Authority
- ในกรณีที่ร้านค้าบนเว็บมี Merchant Account ซึ่งทำการตัดบัตรเครดิตจากธนาคารโดยตรง ต้องมั่นใจว่าร้านค้านั้นน่าเชื่อถือเพียงพอ ใช้ HTTPS เสมอและมี Certificate จาก Certificate Authority
- เนื่องจากข้อมูลที่ใช้ในการพิสูจน์การถือครองบัตรอยู่บนตัวบัตรทั้งหมด ดังนั้นไม่ควรให้ใครทำสำเนาบัตรเครดิตไป ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายเอกสารหรือถ่ายภาพ
อย่างไรก็ตามธนาคารผู้ออกบัตรบางแห่งมีนโยบายที่จะต้องขอการอนุมัติมายังหน้าอนุมัติบัตรของธนาคารเอง ซึ่งธนาคารจะถามข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ปรากฏบนบัตรเครดิต เช่น วันเกิด เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากการถูกขโมยบัตรแล้วนำไปใช้ซื้อสินค้าบนอินเตอร์เน็ต บัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารที่มีนโยบายดังกล่าวจึงน่าใช้บริการมากกว่าบัตรที่ออกโดยผู้ออกบัตรรายอื่น แม้ว่าเราจะไม่ต้องการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตก็ตาม
อุดช่องโหว่จากการลักลอบใช้บัญชีของเรา
จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเราพบว่ามีช่องโหว่ที่เราต้องอุดอยู่หลายจุด ซึ่งช่องโหว่นั้นอาจเป็นช่องโหว่จากผู้ให้บริการเอง หรือจากเราซึ่งเป็นผู้ใช้ ข้อแนะนำในการป้องกันตัวเองจากภัยที่เกิดจากการใช้งาน E-Commerce มีดังนี้- เปิดบัญชีทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน กรุณาตรวจสอบเสียก่อนว่าการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตต้องยื่นคำร้อง หรือใช้เอกสารที่สถาบันการเงินออกให้เปิดใช้ได้โดยตรง ถ้าเป็นกรณีหลัง กรุณาใช้สิทธิ์ของท่านก่อนที่คนอื่นจะมาใช้สิทธิ์แทน
- ตั้งชื่อบัญชีใช้งานที่ไม่เกี่ยวกับชื่อและนามสกุลเรา หรือนามแฝง (Alias) อื่นๆที่เราใช้เพื่อป้องกันการรู้บัญชีผู้ใช้งาน
- ใช้รหัสผ่านที่มีอักขระพิเศษถ้าเป็นไปได้ และให้มีความยาวมากเพียงพอมากกว่า 8 ตัวอักษร เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ และบัญชีผู้ใช้ของผู้ให้บริการต่างๆ ใช้รหัสผ่านไม่เหมือนกัน (แน่นอนว่าเพิ่มความยุ่งยาก)
- Email ที่ใช้ติดต่อทำธุรกรรมควรจะมีความปลอดภัยสูง เช่นใช้ POP3/IMAP/SMTP ที่เข้ารหัส TLS/SSL และ/หรือไม่ใช่พอร์ตมาตรฐาน ถ้าเป็น Web Mail ต้องเข้าด้วย HTTPS ถ้าไม่แน่ใจให้เปิด Email ไว้สำหรับทำธุรกรรมโดยเฉพาะ ควรใช้อีเมล์ขององค์กรและเลี่ยงพวกฟรีอีเมล์เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็น Web Mail ที่ใช้ HTTPS เฉพาะหน้า login แต่หน้าอ่านเมล์ปกติไม่เข้ารหัส แต่หากไม่มีจริงๆ ให้ใช้ Gmail ผ่าน HTTPS หรือทาง POP3/IMAP/SMTP ซึ่ง Gmail รองรับการเข้ารหัสไว้
- รักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นความลับมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ Call Center มักจะถามเช่น หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อธนาคาร วงเงินสินเชื่อ ที่อยู่ในการจัดส่งใบแจ้งยอดบัญชี จำนวนบัตรเสริม ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้ทำธุรกรรมจะอยู่บนบัตรประชาชน บัตรเครดิต และใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิต และอย่านำข้อมูลดังกล่าวไปไว้ในอินเตอร์เน็ตโดยไม่จำเป็น
- กรณีใช้บัตรเครดิต ข้อมูลสำคัญจะอยู่ที่ใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิต และจากใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตจะทำให้หาข้อมูลอื่นๆ ได้ง่าย ถ้าผู้ไม่ประสงค์ดีได้ใบแจ้งยอดบัตรเครดิตไป สามารถแก้ไขข้อมูลเจ้าของบัตรได้โดยไม่รู้ตัว เช่น การยกเลิกรหัสผ่าน รวมไปถึงเปลี่ยนที่อยู่ในการจัดส่ง อายัดบัตร แล้วออกบัตรใหม่ ดังนั้นควรเก็บรักษาใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตเป็นอย่างดี หรือทำลายให้เร็วที่สุด หรือเปลี่ยนไปใช้ Electronics Statement ในกรณีที่ผู้ออกบัตรเปิดให้บริการ จะปลอดภัยมากกว่า
- ยกเลิกการใช้บริการ ถ้าไม่มั่นใจว่าผู้ให้บริการมีความปลอดภัยเพียงพอ อย่าเสี่ยง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น